เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 2. ปัจโจโรหณิวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
10. อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อสิ้นอาสวะ
[122] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 10 ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ธรรม 10 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. สัมมาทิฏฐิ 2. สัมมาสังกัปปะ
3. สัมมาวาจา 4. สัมมากัมมันตะ
5. สัมมาอาชีวะ 6. สัมมาวายามะ
7. สัมมาสติ 8. สัมมาสมาธิ
9. สัมมาญาณะ 10. สัมมาวิมุตติ

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 10 ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
อาสวักขยสูตรที่ 10 จบ
ปัจโจโรหณิวรรคที่ 2 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ปฐมอธัมมสูตร 2. ทุติยอธัมมสูตร
3. ตติยอธัมมสูตร 4. อชิตสูตร
5. สคารวสูตร 6. โอริมตีรสูตร
7. ปฐมปัจโจโรหณิสูตร 8. ทุติยปัจโจโรหณิสูตร
9. ปุพพังคมสูตร 10. อาสวักขยสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :276 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 3. ปริสุทธวรรค 1. ปฐมสูตร
3. ปริสุทธวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมที่บริสุทธิ์
1. ปฐมสูตร
สูตรที่ 1 ว่าด้วยธรรมที่บริสุทธิ์
[123] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 10 ประการนี้ เป็น
ธรรมที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เว้นวินัยของพระสุคต1แล้วย่อมไม่มี
ธรรม 10 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) 2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) 4. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) 6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) 8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)
9. สัมมาญาณะ (รู้ชอบ) 10. สัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ)

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 10 ประการนี้แล เป็นธรรมที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เว้นวินัย
ของพระสุคตแล้วย่อมไม่มี
ปฐมสูตรที่ 1 จบ

เชิงอรรถ :
1 วินัยของพระสุคต หมายถึงธรรมที่พระสุคตแสดง ซึ่งมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง
และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์ ครบถ้วน คำว่า
สุคต เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า มีความหมายหลายนัยดังนี้คือ (1) เสด็จไปงาม คือบริสุทธิ์ ได้แก่
ดำเนินไปด้วยอริยมรรคมีองค์ 8 (2) เสด็จไปยังสถานที่ดี คืออมตนิพพาน (3) เสด็จไปโดยธรรม คือไม่กลับ
มาหากิเลสที่ทรงละได้แล้ว (4) ทรงตรัสไว้โดยธรรม คือตรัสพระวาจาที่ควรในฐานะที่ควรเท่านั้น (วิ.อ.
1/1/108 และดู องฺ.จตุกฺก. 21/160/167-169)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :277 }